ThaiHotNew รายงานข่าว ประเด็นร้อน!

ข่าวร้อน ประเด็นเด็ดของเมืองไทย ทุกสถานการณ์ติดตามได้ที่นี้ ThaiHotNew.Blogspot.com

03:28

'ถังดับเพลิง' ระงับอัคคีภัย

เขียนโดย Thaihotnew |


ตรวจเช็กพร้อมใช้...ลดภัยสูญเสีย!!

ภาพเปลวเพลิงที่ลุกท่วมกรุงเทพมหานครอย่างบ้าคลั่งที่ผ่านมา ถือเป็นเหตุการณ์เศร้าสะเทือนใจคนไทยทั่วประเทศ เนื่องจากไฟที่เผาทำลายบ้านเมืองนั้นได้ถูกจุดขึ้นจากน้ำมือคนไทยเอง หลังเพลิงสงบยังคงมีกลิ่นควันจาง ๆ ลอยอยู่ในอากาศเพื่อรำลึกถึงความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลที่ยากจะประเมินค่า พร้อมคำถามที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำอีกหรือไม่...?!?

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้หลายคนเกิดความหวาดกลัวอัคคีภัยทุกประเภทที่ อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรให้ความสำคัญ ซึ่ง “ถังดับเพลิง” ถือเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่เชื่อว่าเกือบทุกบ้านมีติดตั้งไว้เพื่อป้องกันเพลิงไหม้ แต่มั่นใจหรือไม่ว่าเราดูแลตรวจเช็กอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้พร้อมใช้งานแล้ว...

สมเชษฐ กองเขน ผู้ อำนวยการส่วนเครื่องจักรกลสาธารณภัย สำนักมาตรการป้องกันสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับถังดับเพลิงที่เรา มีไว้ประจำบ้านเพื่อใช้ระงับ อัคคีภัยว่า โดยพื้นฐานทั่วไปการเกิดอัคคีภัยจริง ๆ แล้วเกิดขึ้นยากเนื่องจากต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกันคือ 1.เชื้อเพลิง 2.ความร้อนที่สูงมาก 3.อากาศ (ออกซิเจน) จึงจะทำให้เกิดไอระเหยของคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมา ซึ่งประเภทของเพลิงนั้นเป็นอีกพื้นฐานที่เราต้องทราบก่อนเพื่อนำไปสู่การเลือกใช้ถัง ดับเพลิง โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภท A คือ เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก ยาง เป็นต้น 2.ประเภท B คือ เพลิงที่เกิดจากก๊าซของเหลวติดไฟ ไข และน้ำมันต่าง ๆ 3.ประเภท C คือ เพลิงที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้า เช่น สายไฟ 4.ประเภท D คือ เพลิงที่เกิดจากสารเคมีติดไฟได้ ส่วนใหญ่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

ถังดับเพลิงส่วนใหญ่ที่ เรารู้จักนั้นมี 3 สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว โดยเฉพาะสีแดงเราจะพบเห็นบ่อยตามบ้านเรือนประชาชนและสถานที่ราชการต่าง ๆ แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่า ยังแบ่งเป็น 2 แบบอีกด้วย คือ แบบบรรจุสารเคมี ได้แก่ผงเคมีแห้งที่ผ่านการอบ แห้งแล้ว เวลาพ่นออกมาจะเป็นละอองแป้งสีขาว ๆ ใช้ได้ง่ายครอบคลุมเพลิงทุกประเภท แต่มีข้อเสียคือจะ ทำให้เหลือผงสีขาว ๆ เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และ แบบบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถสังเกตได้คือ จะมีกรวยรูปแตรหรือทรงยาวอยู่ที่สายดับเพลิง เวลาพ่นก๊าซออกมาจะเป็นเหมือน หมอกปกคลุมแต่ไม่ทิ้งคราบสกปรกเหมาะสำหรับใช้ในปั๊มน้ำมัน เพราะไม่ทิ้งสารตกค้างทำ ให้พื้นที่สะอาดแต่สามารถใช้ได้กับเพลิงประเภท B และ C เท่านั้น สำหรับอันตรายจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้านำไปใช้ในที่อับอาจทำให้คนที่อยู่ข้างในขาดอากาศหายใจ ส่วนอันตรายของ ผงเคมีแห้ง ถ้าสัมผัสถูก บริเวณผิวหนัง ดวงตา จะมีอาการระคายเคือง ปวดแสบ ปวดร้อน แต่สามารถล้างน้ำ ออกได้

ส่วน ถังดับเพลิง สีเหลือง เป็นถังดับเพลิง ชนิดน้ำยาเหลวระเหยบีซีฮาลอน คุณสมบัติมีความเย็นจัด เหมาะสำหรับสถานที่ที่ใช้อุปกรณ์คอม พิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร เนื่องจากไม่ทิ้งคราบสกปรก เพราะเป็นสารสะอาด ส่วน ถังสีเขียวคุณสมบัติคล้าย ๆ สีเหลือง แต่ดีกว่าตรงที่น้ำยาเป็นสาร ระเหยที่ไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม แถมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แต่ทั้ง2 ชนิดนี้ค่อนข้างแพงจึงไม่เป็นที่นิยม

ขนาดของถังดับเพลิง ส่วนใหญ่ที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ 5, 10 และ 15 ปอนด์ โดยไม่ควรใช้เกิน 10 กก. หรือ 15 ปอนด์ หรือหากต้องการพกพาไว้ในรถจะใช้แค่ 2 กก. หรือ 5 ปอนด์ และในการติดตั้งถังดับเพลิงรวมความสูงของถังจากพื้นไม่ควรสูงเกิน 150 ซม. เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก ในการเลือกซื้อถัง ดับเพลิงก็สำคัญจะต้องได้มาตรฐาน มอก.332-2537 ด้วย เนื่องจากจะอ้างอิงเกี่ยวกับระยะเวลาการฉีดใช้

เมื่อมีถังดับเพลิงแล้วไม่ใช่จะปล่อยให้ติดตั้งไว้เฉย ๆ รอให้เกิดเหตุอัคคีภัยแล้วค่อยนำออกมาใช้ สมเชษฐ แนะนำวิธีการดูแลรักษาถังดับเพลิงว่า การดูแลรักษาภายนอกถังควรตรวจสอบสภาพของสาย ฉีด ไม่แตก หัก รั่ว และตัวถังไม่ผุกร่อนขึ้นสนิม ส่วนการดูแลรักษาน้ำยาในถังนั้นหมั่นพลิกถังดับเพลิงกลับหัวลง เพื่อตรวจสอบว่าน้ำยาดับเพลิงในถังยังคงสภาพเดิม (เป็นของเหลว) ไม่จับตัวเป็นก้อนแข็ง และเช็กแรงดันของถังดับเพลิงที่มาตรวัดว่า ถ้าเข็มยังอยู่ในแถบสีเขียว แสดงว่ายังใช้งานได้ แต่ถ้าต่ำลงมาที่ขีดแดงควรเติมน้ำยาได้แล้วซึ่งถังซื้อใหม่มีอายุการใช้งาน 5-7 ปี หรือขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมในการติดตั้ง แต่ควรเติมน้ำยาทุก 3-5 ปี เนื่องจากคุณภาพจะเสื่อม เพราะในเรื่องของอัคคีภัยเครื่องมือป้องกันต่าง ๆ ต้องใช้งานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หากไม่มีคุณภาพใช้งานไม่ได้ก็ทำให้เกิดเหตุรุนแรงได้

แต่หากบ้านไหนยังไม่มีถังดับเพลิงประจำบ้านวิธีการเบื้องต้นในการดับเพลิงส่วนมากมักเข้าใจผิดคิดว่าเอาน้ำไปสาดเยอะ ๆ แต่การดับเพลิงจริง ๆ คือ การลดอุณหภูมิ ความร้อนให้ต่ำและคลุมไม่ให้อากาศเข้าหรืออาจจะใช้ผ้าชุบน้ำคลุมไฟ เช่น กองไฟเศษขี้เลื่อย เศษกระดาษ หากฉีดน้ำใส่จะทำให้กระจายได้ และการฉีดน้ำที่ถูกวิธี ควรฉีดไปที่ฐาน ของไฟ

การระงับอัคคีภัยให้มีประสิทธิภาพลดความเสียหาย จึงควรหมั่นตรวจเช็กอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา และอย่าประมาทเผอเรอเพราะอาจทำให้บ้านที่อยู่อาศัยวอดวายได้ ที่สำคัญ ต้องมีสติอย่าตกใจจนทำอะไรไม่ถูก เพราะเปลวเพลิงจะลุกลามรุนแรงก็ต่อเมื่อเราปล่อยให้มันไหม้นานเกิน 3-4 นาทีไปแล้ว ดังนั้นเรายังพอมีเวลาที่จะปกป้องชีวิตและทรัพย์สินได้ตามวิธีที่แนะนำไปแล้วข้างต้น.

วิธีการใช้ถังดับเพลิงแบบง่าย ๆ

1. ดึง คือ เมื่อยกถังดับเพลิงออกมาตั้งแล้ว สังเกตบนถังจะมีสลักเหมือนกระเดื่องระเบิดสอดไว้ค่อย ๆ ดึงออก

2. ปลด คือ ปลดสายหัวฉีดออกมาและถือให้มั่นคง

3. กด คือ เล็งหัวฉีดไปที่ฐานของไฟ จากนั้นกดคันบังคับเปิดน้ำยา

4.ส่าย คือ ส่ายสายฉีดไปให้ทั่วฐานของไฟจน ไฟดับ (พยายามเข้าใกล้ประมาณ 2-4 เมตร เป็นระยะหวังผลได้ดี)

ทีมวาไรตี้ เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น



คำค้นหา

3สถิติรวด (1) กินเน็ตบุค (1) กูเกิล (1) เกย์ (1) ขายเสื้อผ้าสตรี (1) 'ข้าวเหนียวมูน-น้ำกะทิทุเรียน' (1) ไข้หวัด2009 (1) คลับแอสทีเรีย (1) คลิป ธัญญ่า เป๊ก (1) คลิปเสียง ธัญญ่า (1) เจ้าแม่กวนอิม-ลิ้มกอเหนี่ยว (1) ซีเอสไอ ไมอามี (1) ซู ซาน บอยล์ (1) เซ็นทรัลเวิลด์ (1) เซี่ยงไฮ้ (1) ฐิตินาถ ณ พัทลุง (1) เดอะกิ๊ก3 (1) ติดบุหรี่ (1) ตี 10 (1) แต่งหน้า (1) ถังดับเพลิง (1) ทรู อคาเดมี แฟนเทเชีย ซีซั่น7 (1) ทรู อคาเดมี แฟนเทเชีย ซีซั่น7 (ทรู เอเอฟ7) (2) ธัญญ่า เป๊ก พิ้งกี้ (2) ‘ธุรกิจนมปั่น’ (1) น้องซัน ศัลยกรรม (1) บันทึกชื่อ (1) เบนซ์ นางเอกเดอะกิ๊ก 3 (1) ปอv12 (1) แปรรูปลอย (1) ผีมาเข้าฝัน (1) ผู้ชาย (1) แผน 555 (1) แผนสร้างความปรองดองแห่งชาติ (1) ฝ้าย บุศริน (1) พจน์ อานนท์ (2) พจน์ แอนนี่ ฟิลม์ (1) พจน์ แอนนี่ ฟิลม์ จุ้น (1) พจน์ แอนนี่ ฟิลม์ ตีสิบ (1) พระปราโมทย์ (1) พิ้งกี้ (1) พิ้งกี้ เป๊ก (1) ฟิล์ม-รัฐภูมิ (5) ฟิล์ม แอนนี่ บรู๊ค (6) รายการ ตีสิบ (1) ลูกสาวเข้าฝันแม่ (1) เลดี้ กาก้า (1) เลิกบุหรี่ (1) "สุนทรภู่" (1) โหรวารินทร์ (1) เอ๊กซโป (1) แอนนี่ บรู๊ค (6) ฮวงจุ้ย (1) เฮียฮ้อ (1) เฮียฮ้อ จุ้น แอนนี่ (1) facebook (1) gay (1) google (1) Toyota New Vios (1)
Subscribe